มาดูกันว่าโรคประจำตัวแบบไหนบ้าง ที่เสี่ยงต่ออาการเหล่านี้!
เสี่ยงงูสวัด 2.64 เท่า
โรคเบาหวาน
ผู้ป่วยเบาหวานเสี่ยงงูสวัด
มากกว่าคนปกติถึง 2.64 เท่า7
มีโอกาสเกิดอาการปวดตามแนวเส้นประสาท แม้ว่าผื่นหายดีแล้ว (PHN) สูงขึ้น 18%8 อีกทั้งผู้ป่วยเบาหวานที่เคยคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี 24% กลับมาคุมนํ้าตาลไม่ได้หลังจากที่เป็นงูสวัด3
Herpes Zoster with Comorbidities: ทำไมคนไข้เบาหวานจึงเสี่ยงต่อการเป็นงูสวัด
คนไข้เบาหวานมีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายขึ้นกว่าคนปกติ เนื่องจากภูมิคุ้มกันมีการเปลี่ยนแปลงทำให้เชื้องูสวัดที่ซ่อนอยู่ในร่างกาย กลับมาแสดงอาการได้ง่ายขึ้น3,9-11
จากข้อมูลงานวิจัย พบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความเสี่ยงต่อการเป็นงูสวัดได้ถึง 2.64 เท่าเมื่อเทียบกับคนที่สุขภาพดีในวัยเดียวกัน7
นอกจากนี้ ผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นงูสวัดมีแนวโน้มที่จะปวดตามแนวเส้นประสาท (PHN) ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย หลังจากที่เป็นงูสวัดแม้ว่าผื่นจะหายดีแล้ว
สูงขึ้น 18% เมื่อเทียบกับคนที่ไม่เป็นโรคเบาหวาน8 ผู้ป่วยเบาหวานที่เคยคุมระดับนํ้าตาลในเลือดได้ดี 24% กลับมาคุมนํ้าตาลไม่ได้หลังจากที่เป็นงูสวัด3
ดังนั้นการป้องกันงูสวัดในผู้ป่วยเบาหวานจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำเกี่ยวกับโรคงูสวัด วิธีป้องกัน
รวมถึงวัคซีนป้องกันเพื่อลดความรุนแรงของโรค
เสี่ยงต่ออาการไตวาย
โรคไตเรื้อรัง
ผู้ป่วยโรคไตเสี่ยงเป็นโรคงูสวัดสูงเมื่อเทียบกับคนสุขภาพดีในวัยเดียวกันถึง 1.38 เท่า12
มีอาการปวดตามแนวเส้นประสาท แม้ว่าผื่นหายดีแล้ว (PHN) สูงขึ้น 1.59 เท่าเมื่อเทียบกับคนสุขภาพดี2 และผู้ป่วยโรคไตที่เป็นงูสวัด ยังเสี่ยงต่ออาการไตวายมากขึ้นอีกด้วย4
เสี่ยงต่ออาการไตวาย
ความเสี่ยงต่อการเป็นงูสวัดในผู้ป่วยโรคไต
ข้อมูลจากงานวิจัยพบว่าผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังมีความเสี่ยงต่อ การเป็นงูสวัดเพิ่มมากขึ้น 1.38 เท่า เทียบกับคนที่สุขภาพดีในวัยเดียวกัน12
โรคงูสวัดยังทําให้เพิ่มโอกาสเสี่ยงที่จะทําให้เกิดภาวะไตวายระยะสุดท้าย4 เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคงูสวัดเพิ่มสูงขึ้นในผู้ที่ฟอกไตทางเส้นเลือด 1.35 เท่า
ผู้ที่ฟอกไตทางหน้าท้อง 3.61 เท่า
และผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายไต 8.46 เท่า13 นอกจากนี้ในผู้ป่วยโรคไตอายุตํ่ากว่า 60 ปี มีความเสี่ยงต่อการปวดตามแนวเส้นประสาท (PHN) ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยหลังจากการที่เป็นงูสวัดสูงขึ้นถึง 1.59 เมื่อเทียบกับคนที่สุขภาพดีในวัยเดียวกัน2 ผู้ป่วยโรคไตเป็นงูสวัดยังทําให้สภาวะไตเสื่อมถอยและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นไตวายมากขึ้นอีก 1.36เท่า4 ผู้ป่วยโรคไตเอง มักมีโรคประจําตัวอย่างอื่นร่วมอยู่ด้วย ซึ่งเมื่อเป็นงูสวัดในผู้ป่วยกลุ่มนี้ทําให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นไตวายมากขึ้นไปอีกด้วย4 แม้ว่าจะเคยติดเชื้องูสวัดแล้ว ผู้ป่วยโรคไตมีโอกาสเป็นซํ้าได้อีก สูงถึง 20%14
ดังนั้นการป้องกันงูสวัดในผู้ป่วยโรคไต โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปจึงเป็นเรื่องที่สําคัญ เพื่อลดความเสี่ยงและความรุนแรงของโรคงูสวัด ควรปรึกษาแพทย์
เพื่อรับคําแนะนําเกี่ยวกับโรคงูสวัด วิธีป้องกัน รวมถึงวัคซีนป้องกันเพื่อลดความรุนแรงของโรค
เสี่ยงในการเกิดภาวะ
กล้ามเนื้อหัวใจตาย 35%
โรคงูสวัดกับโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย15
โรคหลอดเลือดหัวใจขาดเลือด เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเสียชีวิต คิดเป็น 16% ของการเสียชีวิตของคนทั่วโลก
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือ Myocardial Infarction (MI) สามารถเกิดขึ้นหลังจากติดเชื้อไวรัสได้ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือเชื้องูสวัด (Varicella Zoster Virus)
งูสวัดเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย 35% (1.35 เท่า) ภายใน 30 วันหลังจากเป็นงูสวัด เทียบกับผู้ที่ไม่เป็นงูสวัด นอกจากนี้หากมีประวัติเกี่ยวกับโรคหัวใจ หลอดเลือด หรือภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายให้มากยิ่งขึ้น หลังจากเป็นงูสวัด
มีโอกาสเกิดภาวะ
แทรกซ้อนอย่าง Stroke ได้
โรคหลอดเลือดสมอง
ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เพิ่มโอกาสเสี่ยงจะเป็นโรคงูสวัดมากกว่าปกติเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่มีโรคนี้5
และเสี่ยงต่ออาการปวดตามแนวเส้นประสาท แม้ว่าผื่นหายดีแล้ว (PHN)
ถึง 2.15 เท่า16 ในขณะเดียวกัน คนทั่วไปหลังจากเป็นโรคงูสวัด มีโอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนอันตรายอย่าง stroke ตามมาได้ โดยเฉพาะในช่วง
1 เดือน - 1 ปี5 หลังจากที่เป็นงูสวัด มีโอกาสเกิด stroke ขึ้นตามมาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังการเป็นงูสวัดในช่วง 1 เดือน มีความเสี่ยงในการเป็น stroke ได้สูงถึง 78% ความเสี่ยงของการเป็น stroke ภายหลังการเป็นงูสวัดอยู่ ถึง 1 ปี มีความเสี่ยงอยู่ที่ 20%5
มีโอกาสเกิดภาวะ
แทรกซ้อนอย่าง Stroke ได้
ทำไมเป็นงูสวัด แล้วมีโอกาสเป็น Stroke
การติดเชื้องูสวัดทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผนังหลอดเลือด กล่าวคือ ผนังหลอดเลือดหนาตัวมากขึ้น นอกจากนี้เมื่อมีการติดเชื้องูสวัด ร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน ทำให้เกิดการอักเสบของผนังหลอดเลือดด้วย เมื่อผนังหลอดเลือดมีอาการอักเสบ และมีการหนาตัวขึ้น การไหลเวียนของเลือดในเส้นเลือดบริเวณนี้จึงถูกขัดขวาง ทำให้เนื้อสมองบางส่วนขาดเลือดไปเลี้ยงได้5
ข้อมูลจากงานวิจัย รายงานว่า ผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง ทั้งหลอดเลือดสมองตีบ หลอดเลือดสมองแตก ล้วนเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นงูสวัด โดยผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบ มีความเสี่ยงต่อการเป็นงูสวัด เพิ่มมากขึ้น 2.51 เท่าเทียบกับผู้ที่ไม่มีโรคนี้ ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองแตก มีความเสี่ยงต่อการเป็นงูสวัด เพิ่มมากขึ้น 2.31เท่า เทียบกับผู้ที่ไม่มีโรคนี้นอกจากนี้ในผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง พบอาการปวดตามแนวเส้นประสาท (PHN) ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย หลังจากที่เป็นงูสวัด
แม้ว่าผื่นหายดีแล้วสูงขึ้นถึง 2.15 เท่า16
ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นความอันตรายจากภาวะแทรกซ้อนของการเป็นโรคงูสวัด หรือผู้ป่วยที่เป็น Stroke เองก็เสี่ยงต่อการติดเชื้องูสวัด โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป
จึงเป็นเรื่องสำคัญ ที่จะลดความเสี่ยง และความรุนแรงของโรค ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคําแนะนําเกี่ยวกับโรคงูสวัด วิธีป้องกัน รวมถึงวัคซีนป้องกันเพื่อลดความ รุนแรงของโรค
ทำให้โรคปอดอุดตันเรื้อรัง
มีอาการแย่ลง
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมีความเสี่ยงในการเป็นโรคงูสวัดเพิ่มมากถึง 2.77 เท่า17
และมีความเสี่ยงต่ออาการปวดตามแนวเส้นประสาท แม้ว่าผื่นหายดีแล้ว (PHN) ถึง 1.53 เท่า เปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่มีโรคนี้2 ในขณะเดียวกันการเป็นงูสวัดในผู้ป่วยกลุ่มนี้จะทําให้โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมีอาการแย่ลงได้อีกด้วย6
เพื่อลดความเสี่ยงของการเป็นงูสวัด และลดความรุนแรงจากภาวะแทรกซ้อน โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคําแนะนําเกี่ยวกับโรคงูสวัด
วิธีป้องกัน รวมถึงวัคซีนป้องกันเพื่อลดความรุนแรงของโรค
เสี่ยงต่อการเป็นงูสวัดขึ้นตา
โรคหอบหืด
ผู้ป่วยโรคหอบหืดมีความเสี่ยงที่จะเป็นงูสวัดมากขึ้นถึง 1.32 เท่า เมื่อเทียบกับคนสุขภาพดีในวัยเดียวกัน18
เสี่ยงต่อการเป็นงูสวัดขึ้นตา
เนื่องจากภูมิคุ้มกันที่ลดต่ำลง19 มีความเสี่ยงต่ออาการ PHN ถึง 1.21 เท่า2 และมีความเสี่ยงต่อการเป็นงูสวัดขึ้นตาถึง 1.9 เท่า20
เพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้องูสวัด และลดความรุนแรงจากภาวะแทรกซ้อน โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำ
เกี่ยวกับวิธีการป้องกัน และรับคำแนะนำเกี่ยวกับการรับวัคซีน