ผู้ป่วยโรคงูสวัด โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปหรือกลุ่มเสี่ยงที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่สร้างความทรมาน และความลำบากในการใช้ชีวิตประจำวัน เนื่องจากสามารถเกิดได้หลากหลายอาการ เช่น อาการปวดตามเส้นประสาทแม้ว่าผื่นหายดีแล้ว (Postherpetic Neuralgia; PHN) เป็นภาวะที่พบได้บ่อยที่สุด1
สำหรับภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจพบได้ เช่น ปัญหาเกี่ยวกับดวงตา ปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาท หรือการทรงตัว2
ภาวะแทรกซ้อนเมื่อเป็นโรคงูสวัด
ผู้ป่วยบางคนอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ ได้แก่:
อาการปวดตามเส้นประสาทหลังการเป็นงูสวัด (PHN):
01
มากถึง 30%3 ของผู้ที่เป็นโรคงูสวัด มักพบอาการปวดเส้นประสาท(PHN) แม้ว่าผื่นงูสวัดจะหายดีแล้ว โดยเฉพาะผู้สูงอายุ 50 ปีขึ้นไป สามารถพบอาการได้บ่อยและรุนแรงกว่าในเด็ก1
โรคเกี่ยวกับดวงตา:
02
โรคงูสวัดที่ดวงตา (HZO) อาการของผื่นงูสวัดที่เกี่ยวข้องกับตาหรือจมูก พบได้สูงถึง 25%1 ของผู้ที่เป็นงูสวัด โดยมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆได้มากถึง 50% และ 30% อาจมีอาการมองเห็นภาพที่เปลี่ยนแปลงไป4
ปัญหาทางระบบประสาท:
03
ผู้ป่วยบางคนสามารถพบภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท เช่น โรคไข้สมองอักเสบ (สมองบวม)1
ปัญหาการได้ยินและการทรงตัวเปลี่ยนแปลงไป:
04
สําหรับปัญหาทางการได้ยิน หากเชื้อไวรัสงูสวัดสามารถกําเริบขึ้นมาอีกครั้ง หรือเกิดโรคงูสวัดในหู อาจส่งผลต่อความบกพร่องทางการได้ยิน รู้สึกหมุน มีเสียงในหู เจ็บปวดบริเวณใบหน้าอย่างรุนแรง ใบหน้าเป็นอัมพาต (กลุ่มอาการรัมเซย์ ฮันท์) ปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัวอาจเกิดขึ้นได้ในผู้ที่เป็นโรคงูสวัด1
ภาวะแทรกซ้อน
เมื่อเป็นโรคงูสวัด
ผู้ป่วยบางคนอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ ได้แก่:
อาการปวดตามเส้นประสาทหลังการเป็นงูสวัด (PHN):
01
มากถึง 30%3 ของผู้ที่เป็นโรคงูสวัด มักพบอาการปวดเส้นประสาท(PHN) แม้ว่าผื่นงูสวัดจะหายดีแล้ว โดยเฉพาะผู้สูงอายุ 50 ปีขึ้นไป สามารถพบอาการได้บ่อยและรุนแรงกว่าในเด็ก1