Descriptive Alt Text

อาการของโรคงูสวัด มักมีผื่นขึ้นลักษณะเป็นตุ่มน้ำใส รอบลำตัวร่วมกับอาการเจ็บปวด

ซึ่งผื่นสามารถเกิดขึ้นบนลำตัว บริเวณแขน ต้นขา หรือศีรษะ (รวมทั้งในตาหรือหู) ด้านซ้ายหรือด้านขวา ซึ่งตำแหน่งที่พบได้บ่อยที่สุดคือ บริเวณหน้าอกและหน้าท้อง1

อาการเจ็บปวดของโรคนี้ จะมีอาการปวดแสบปวดร้อน หรือบางคนมีอาการไวต่อแสง ปวดศีรษะ และรู้สึกไม่สบาย ซึ่งอาการจากที่กล่าวมามักส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต ประจำวันของผู้ป่วย เช่น การแต่งตัว การเดิน การนอนหลับ และการขยับร่างกาย2

Shingles on skin

ความรู้สึกเมื่อติดเชื้องูสวัด / คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นงูสวัด

โรคงูสวัดอาจมีสัญญาณเตือนล่วงหน้า 48-72 ชั่วโมง ก่อนเกิดผื่น3 เช่น มีอาการเจ็บปวด คัน หรือมีอาการชาเฉพาะบริเวณที่ผื่นจะเกิดขึ้น นอกจากนี้อาจจะมีอาการเป็นไข้ ปวดศีรษะ หนาวสั่น หรือปวดท้อง 2,3

ระยะอาการ
ของโรคงูสวัด
Descriptive Alt Text
<span class='DBHelvethaicaXBold'>ระยะที่ 1 </br> ระยะส่งสัญญาณ</span>  (Prodromal Phase) : 4 วัน - 2 สัปดาห์

1

ระยะที่ 1
ระยะส่งสัญญาณ
(Prodromal Phase) : 4 วัน - 2 สัปดาห์

จะมีอาการมีไข้ ปวดเมื่อเนื้อตัว อาจรู้สึกผิวหนังแสบร้อน ตาสู้แสงไม่ได้ปวดหัว 1-3

<span class='DBHelvethaicaXBold'>ระยะที่ 2 </br> ระยะออกอาการ </span> (Acute Phase) </br>: 2 - 4 สัปดาห์

2

ระยะที่ 2
ระยะออกอาการ
(Acute Phase)
: 2 - 4 สัปดาห์

ผื่นจะขึ้นตามตัว ลักษณะเป็นตุ่มน้ำใส มักเรียงตัวกันเป็นกลุ่มตามเส้นประสาท ไม่กระจายตัวเหมือนลักษณะผื่นโรคอีสุกอีใส 1,2,4

การป้องกันและการรักษา

ผู้สูงอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ควรปรึกษาแพทย์ พยาบาล หรือเภสัชกรเพื่อรับคำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับ วิธีป้องกันโรคงูสวัด


ทางเลือกในการป้องกันโรคงูสวัดเบื้องต้น


โรคงูสวัดเกิดจากการกำเริบของเชื้อไวรัส ที่เกิดมาจากโรค อีสุกอีใส ซึ่งเชื้อไวรัสนี้อยู่ในร่างกาย ของเราตลอดชีวิต1 ซึ่งหากไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใส ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัส กับผู้ที่กำลังเป็นโรคอีสุกอีใส และโรคงูสวัด


นอกจากนี้ยังสามารถป้องกันได้ด้วยการล้างมือ ทำความสะอาดจุดเสี่ยง เพื่อช่วยลดความเสี่ยง ในการเกิดโรคอีสุกอีใสได้6

Healthcare Image
Descriptive Alt Text
close
Arrow up

*รูปภาพแพทย์ถูกสร้างด้วยความช่วยเหลือจาก Artificial Intelligence