Descriptive Alt Text

โรคงูสวัดคืออะไร ?

โรคงูสวัด (HERPES ZOSTER) เกิดจากเชื้อไวรัส Varicella Zoster ซึ่งเป็นไวรัสชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใสหลังจากเป็นโรคอีสุกอีใสเชื้อไวรัส Varicella Zoster จะยังคงหลบซ่อนอยู่ในร่างกายบริเวณปมประสาท และเมื่ออายุมากขึ้นหากระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงจะทำให้ไวรัสที่หลบซ่อนอยู่กำเริบขึ้นอีกครั้ง และก่อให้เกิดโรคงูสวัดได้1 เมื่อเป็นโรคงูสวัด จะมีอาการที่แสดงออกมาเป็นลักษณะผื่นตุ่มน้ำใส ที่บริเวณด้านซ้ายหรือด้านขวาของร่างกาย และมีอาการเจ็บปวดอื่นๆ ร่วมด้วย1,2

สิ่งที่คุณต้องรู้
เกี่ยวกับ โรคงูสวัด

คุณควรรู้ว่าโรคงูสวัดคืออะไร และเมื่อคุณรู้ถึงสาเหตุ ความเสี่ยง และการรักษา คุณจะสามารถป้องกันและดูแลตัวเองได้อย่างถูกต้อง และทันท่วงที

สาเหตุของโรคงูสวัดคืออะไร

ส่วนใหญ่หากเคยเป็นโรคอีสุกอีใส และหลังจากหายแล้ว เชื้อไวรัส Varicella Zoster จะยังอยู่ในร่างกาย เมื่อภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง เชื้อไวรัสตัวนี้ก็จะสามารถกำเริบขึ้นมาอีก ทําให้เกิดโรคงูสวัด (หรือที่เรียกว่า Herpes Zoster) ปัจจัยที่อาจทำให้เชื้อไวรัสกำเริบ ได้แก่ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอลงเมื่ออายุมากขึ้น จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมความเสี่ยงต่อโรคงูสวัดถึงเพิ่มขึ้นตามอายุ1

ซึ่งโดยปกติคนเราจะเป็นโรคงูสวัดแค่ครั้งเดียว แต่ก็มีโอกาสเป็นซํ้าอีกได้2 หากมีระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคงูสวัดได้เช่นกัน1

ผื่นงูสวัดจะอยู่นานแค่ไหน

โรคงูสวัดทําให้เกิดผื่นตุ่มนํ้าใสที่มีความเจ็บปวดร่วมด้วย โดยสะเก็ดจะหลุดออกใน 10 ถึง 15 วันและหายไปภายใน 2 ถึง 4 สัปดาห์ ตามปกติแล้วผื่นมักปรากฏที่ด้านใดด้านหนึ่งของร่างกายหรือใบหน้า 48-72 ชั่วโมงก่อนที่ผื่นจะปรากฎ อาจมีอาการเจ็บปวด คัน รู้สึกเสียวเหมือนไฟช็อต หรือมีอาการชาตรงบริเวณที่ผื่นจะเกิดขึ้น1,2

โรคงูสวัดที่ดวงตาคืออะไร

โรคงูสวัดที่ดวงตา คือ การติดเชื้องูสวัดที่บริเวณ ดวงตาและลูกตา มีอาการได้แก่ ผื่นที่หน้าผากและการอักเสบบริเวณเนื้อเยื่อดวงตา และรอบดวงตา บางครั้งอาจพบผื่นที่บริเวณปลายจมูกหรือด้านข้างของจมูก3

ความเครียดเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคงูสวัดหรือไม่

ความเครียดอาจจะเป็นปัจจัยหนึ่งในการเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดโรคงูสวัด3 แต่ปัจจัยเสี่ยงที่สําคัญที่สุดให้เกิดโรคงูสวัดคือ อายุ เนื่องจากโรคงูสวัดส่วนใหญ่ มีโอกาสเกิดขึ้นกับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป เนื่องจากภูมิคุ้มกันที่ลดลงตามอายุ1

โรคงูสวัดเป็นโรคติดต่อหรือไม่

โรคงูสวัดเกิดขึ้นเมื่อเชื้อไวรัสที่อยู่ในร่างกายเกิดการกำเริบ ดังนั้นจึงไม่สามารถแพร่เชื้อจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งได้ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใสและโรคงูสวัดคือเชื้อชนิดเดียวกัน หากคนที่ไม่เคยเป็นโรคงูสวัดหรือไม่ได้รับการป้องกันโรคอีสุกอีใสมาสัมผัสกับตุ่มน้ำใสของผู้ที่เป็นโรคงูสวัด พวกเขาอาจเป็นโรคอีสุกอีใสได้4

ทำไมผู้สูงอายุ ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ถึงเสี่ยงกับโรคงูสวัด

ความเสี่ยงในการเกิดโรคงูสวัดจะเพิ่มขึ้นตามอายุ เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันจะอ่อนแอลง เมื่ออายุมากขึ้น ทําให้เชื้อไวรัสที่แอบอยู่ในร่างกาย กําเริบได้ง่าย1 บางคนอาจไม่ทราบว่าตนเองเคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน หรือจําไม่ได้ว่าเคยเป็นหรือไม่ ซึ่งคนเหล่านี้อาจมีเชื้อไวรัสอยู่แล้วด้วย1 โดยผู้สูงอายุยังมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น อาการปวดตามเส้นประสาท (PHN) หลังจากเป็นโรคงูสวัด1

หากไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใส จะมีความเสี่ยงอยู่หรือไม่

หากคุณไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใส คุณจะไม่สามารถเป็นโรคงูสวัดได้ แต่หากคุณมีการสัมผัสกับเชื้อไวรัสโดยไม่รู้ตัว ก็อาจจะทําให้คุณมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคงูสวัดได้4 หากคุณเป็นงูสวัด หรือมีอาการใกล้เคียง แนะนำให้ปรึกษากับแพทย์เพื่อรับคำแนะนำเกี่ยวกับการป้องกัน และรักษาโรคงูสวัด

ผลกระทบของภาวะหมดประจำเดือนต่อการเกิดโรคงูสวัด
  • ภาวะหมดประจำเดือนของผู้หญิงจะอยู่ระหว่างอายุ 45 - 55 ปี5 ซึ่งเกิดการลดลงของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน6 ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันทั้งในส่วนของฮิวมอรัลและเซลล์ลูลาอ่อนแอลง อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดงูสวัด5
  • ในผู้หญิงที่หมดประจำเดือน จำนวนของ CD4 T-lymphocytes, B-lymphocytes จะลดลง ซึ่งเม็ดเลือดขาวเหล่านี้ทำหน้าที่ป้องกันและกำจัดสิ่งแปลกปลอม หรือเชื้อที่เข้าสู่ร่างกาย ซึ่งทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้5
  • การรับวัคซีนงูสวัดในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน อาจช่วยลดความเสี่ยงจากโรคงูสวัดได้5

การป้องกันและการรักษา

การรักษาสามารถลดความรุนแรงและระยะเวลาของการติดเชื้อได้1 การฉีดวัคซีนเป็นวิธีที่สามารถป้องกันการเกิดโรคงูสวัดและอาการปวดเรื้อรังหลังจากเป็นโรคงูสวัดได้7
วิธีป้องกัน/ลดความเสี่ยงการเกิดงูสวัด ควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง,พักผ่อนเพียงพอ, ออกกำลังกายสม่ำเสมอ, หลีกเลี่ยงภาวะเครียด

มีวิธีใดที่สามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคงูสวัดได้

การฉีดวัคซีนสามารถช่วยป้องกันโรคงูสวัดและอาการปวดเรื้อรังหลังจากงูสวัดได้หากคุณมีข้อสงสัยเรื่องวัคซีน ควรปรึกษากับแพทย์ พยาบาล หรือเภสัชกรเกี่ยวกับการป้องกันโรคงูสวัด8

วิธีป้องกัน/ลดความเสี่ยงการเกิดงูสวัด ควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง, พักผ่อนเพียงพอ, ออกกำลังกายสม่ำเสมอ, หลีกเลี่ยงภาวะเครียด

การฉีดวัคซีนช่วยป้องกันโรคงูสวัดได้อย่างไร

การฉีดวัคซีนช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อโรคงูสวัด ส่งผลให้ร่างกายของคุณสามารถต่อสู้กับเชื้อไวรัสได้ดีขึ้น8 โรคงูสวัดเกิดจากการกําเริบของเชื้อไวรัสก่อโรคอีสุกอีใสที่ยังคงอยู่ในร่างกายของคุณ ซึ่งหากคุณไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใส ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ที่กําลังเป็นโรคอีสุกอีใสและโรคงูสวัด การดูแลสุขอนามัยให้ดีก็เป็นวิธีป้องกันตัวเบื้องต้นที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคอีสุกอีใส และโรคงูสวัดได้3

วิธีการรักษา หรือจัดการโรคงูสวัดได้อย่างไร

การรักษาอาจลดความรุนแรงและระยะเวลาของความเจ็บป่วย อาจรวมถึงการทําให้เชื้อไวรัสอ่อนแอลง และ/หรือบรรเทาอาการเจ็บปวด ซึ่งขึ้นอยู่กับอาการของแต่ละคน9 หากคุณคิดว่าคุณอาจเป็นโรคงูสวัด แนะนําให้เข้าพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เพื่อรับการรักษาและวิธีป้องกัน ซึ่งจะช่วยลดความรุนแรงและระยะเวลาของ อาการ คําแนะนําทั่วไปในการดูแลกับอาการต่าง ๆ ควรดูแลผื่นคันให้สะอาด และแห้งสะอาดอยู่เสมอ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ควรสวมใส่เสื้อผ้าหลวม ๆ ไม่รัดตัว เพื่อป้องกันการเสียดสีควรใช้ การประคบเย็น 2-3 ครั้ง/วัน9

ทางเลือกในการป้องกัน

โรคงูสวัด

ปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำเกี่ยวกับโรคงูสวัดและแนวทางการป้องกันโรค

Healthcare Image
Descriptive Alt Text
close
Arrow up

*รูปภาพแพทย์ถูกสร้างด้วยความช่วยเหลือจาก Artificial Intelligence